top of page
Anchor 1

Matter
By Thanakrit Phathomnimrit

Euphonium and Percussion with a case study
 

ความเป็นมาของวิจัย
 

          เนื่องจากเครื่องดนตรียูโฟเนียม (Euphonium) เป็นเครื่องเล่นสมัยใหม่และยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เครื่องดนตรีชนิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะได้เริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงต้นศตวรรษจนถึงปัจจุบัน มีแนวเพลงใหม่ ๆ ที่ประพันธ์มากขึ้น แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร อีกทั้งเริ่มมีการนำมาเล่นร่วมกับการใช้ดนตรีอิเล็คทรอนิกส์บรรเลงประกอบ (Electronic backing track) มากขึ้น จึงสนใจที่จะค้นคว้าศึกษาแนวเพลงรูปแบบใหม่ เพื่อรวบรวมบทเพลงสำหรับเล่นและแสดงต่อไป โดยมุ่งเน้นไปที่บทเพลงยูโฟเนียม ที่นำเครื่องกระทบมาบรรเลงร่วม  งานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมบทเพลงรูปแบบดังกล่าว พร้อมประวัติความเป็นมาของบทเพลง โดยผู้วิจัยยังลงลึกไปถึงการอธิบายตัวบทเพลง และการ ตีความเพลงเพื่อให้เข้าใจถึงการประพันธ์และเทคนิคของตัวบทเพลง ว่าเพราะเหตุใดถึงเขียนออกมลักษณะนี้ และเพราะเหตุใดถึงเลือกใช้การเล่นรูปแบบนี้ เล่นแบบนี้ได้เสียงอะไรออกมา อีกทั้งยังศึกษาหาข้อมูลประวัติของเพลงและผู้ประพันธ์อีกด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เล่นและนักดนตรีที่สนใจ โดยได้นำบทเพลง Spitfire ประพันธ์โดย Dr.Brian Meixner เป็นกรณีศึกษา เพื่อวิเคราะห์แนวเพลง อารมณ์เพลง เทคนิคต่าง ๆ และวิธีการเล่น อีกทั้งเปรียบเทียบการตีความเสียงที่เล่นออกมากับโน้ตที่บันทึก เเละรวมถึงบทเพลงอื่น ๆ

ขอบเขตของการวิจัย
 
  • ศึกษาค้นหาเเละรวบรวมข้อมูลบทเพลงยูโฟเนียมเเละเครื่องกระทบ 
  • ศึกษาเเละวิเคราะห์การตีความตัวบทเพลง เทคนิค วิธีการเล่น 

เครื่องดนตรีนี้มีความสำคัญอย่างไร?

              

 

            ยูโฟเนียม (Euphonium) ชื่อเดิมมาจากภาษากรีกชื่อว่า “ยูโฟนอส” (Euphonos) ที่แปลว่าเสียงทุ่มนุ่มนวล ไพเราะ เสียงดี หวาน เป็นเครื่องเป่าประเภทเครื่องลมทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับ ทูบา (Tuba) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าจะมีเสียงที่นุ่มนวล ทุ้ม อุ่น และโทนเสียงกลางไปยังต่ำ โดยหน้าที่สำคัญของมันในวงจะเป็นตัวเขื่อมโยงเสียงระหว่างเสียงกลาง สูง และไปยังเสียงต่ำ จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องดนตรี ทูบา และ ทรอมโบน และในเพลงยังมีท่อนประสานและเป็นเมโลดีอีกด้วยทำให้วงมีมิติของเสียง หลากหลายมากขึ้น และยังคงถูกนำมาใช้เล่นบรรเลงเดี่ยวอีกด้วย เพื่อโชว์เสียงและเทคนิค ท่วงทำนองลีลา ของเครื่องยูโฟเนียมและตัวผู้เล่นอีกด้วย และได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

Spitfire – Euphonium and Vibraphone/Marimba

เป็นหนึ่งในอัลบั้มของ Dr.Brian Meixner จากอัลบั้ม Praxis  เป็นการร่วมมือกันระหว่างสองนักประพันธ์ระหว่าง Dr.Brian Meixner และ Nathan Daughtrey เป็นการผสมผสานกันระหว่างเครื่องดนตรียูโฟเนียมและเพอร์คัชชัน (percussion) ซึ่งได้รับรางวัล การประพันธ์และการเล่นดีเด่นอย่างมาก และยังเป็นอัลบั้มที่โด่งดัง เขาได้ทำการผสมส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ ส่วนผสมที่เฉพาะ เข้ากับการเล่นและประสบการณ์ต่างๆ ในการให้อรรถรสและความบันเทิงแก่คนดู รวมถึงการศึกษาและเรียนรู้แรงบัลดาลใจในการเรียนดนตรีของทุกช่วงวัย ซึ่งเพลงนี้ทางผู้ประพันธ์ได้แรงบันดาลใจมาจาก เครื่องบิน Spitfire ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเป็นเครื่องบินที่แล่นเร็วที่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ดุร้ายและ อันตราย เขาจึงได้แต่งให้เพลงมันออกมาดุเดือด เกรี้ยวกราด มีจังหวะที่เร็ว และให้เพลง Character ที่เหมือนเครื่องบินแล่นผ่าน หรือ กำลังบินอยู่ เพลงนีจะให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสงครามรบหรือเหมือนกับสถานการณ์ตอนนั้น

11.png
โดยการเรียบเรียงและการแต่งทำนองเพลง จะมีการ(เล่นในเรื่องของการผสม Material ระหว่างเครื่องกระทบและเครื่องเป่าอย่าง Marimba, Vibraphone และ Euphonium ทำให้เกิด Texture ใหม่เกิดขึ้นในเพลง สร้าง Texture ที่ทำไม่ได้บนยูโฟเนียมที่ต้องเล่นพร้อมกัน กับเครื่องกระทบเหล่านี้ เป็นการประพันธ์ที่ทางผู้ประพันธ์ได้ตั้งใจและคิดเอาไว้แล้วว่าเขาต้องการจะใส่อะไรและต้องกาจะให้มันเกิดขึ้นอะไรในเพลง เป็นการใช้ Material  ที่ต่างกันจากไม้และเหล็กและเครื่องเป่ามาสร้าง Texture ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการบรรเลงพร้อมกัน โดยในท่อนแรกจะมีการ Attack หัวเสียงและคอร์ดที่พร้อมกันจากไวบราโฟนที่เป็นเหล็กและสลับมาขยายคอร์ดที่มาเป็นไม้จากมาริมบาโดยจะเล่นหลังจากที่ตัว ไวบราโฟนลากเสียงครบประโยคพอดี พอถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ว่ามีการใช้ตัว Paddle เข้ามาเพื่อทำให้เสียงลากค้างนานขึ้นและมีการใช้ Medium Fast Motor เพื่อให้เกิดคลื่นเหมือน ไวบราโต้ และจะใช้โดมิแนนเซเวนคอร์ด เพื่อให้เพลงมีเสียงที่มัวและมีมิติ เวลาที่เหยียบแพดเดิลและตี จะมีเสียงสะท้อนมากยิ่งขึ้นและอารมรณ์ที่พิศวงและมืดมน ถัดมาจะมีการไล่โน้ตจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำไปหาเสียงแรกของคอร์ดที่ 1 เพื่อส่งไปหาเครื่องเล่น ยูโฟเนียม โดยโน้ตของยูโฟเนียมจะเหมือนกับเป็นการประกาศการเปิดตัวของเครื่องบินรบ

 

-การเล่นประโยคตรงนี้ควรที่จะฝึกซ้อมการออกหัวเสียงโดยใช้ลิ้นและการใช้ลมที่เร็วและแรงพอประมาณเพื่อที่จะเล่นให้ถึง ไดนามิคของเพลง
 

-การเป่า Lips Slurs ที่ความกว้างของเสียงที่มากขึ้นจากต่ำไปสูง ควรฝึกซ้อมการ Lip Slurs และสลับกับการออกเสียงโดยใช้ลิ้น

22.png

และท่อนนี้ ทางผู้แต่งได้เขียน เมโลดี้ โชว์ท่วงทำนองเสียงของเครื่องเล่นยูโฟเนียมที่มีเครื่องกระทบกำลังทำหน้าที่เดินกำกับจังหวะและลูกเล่นที่กำลังไล่โน้ตด้วย เขบ็ต 2 ชั้น รับจบ หลังจากเครื่องเล่นยูโฟเนียมเป่าจบในแต่ละประโยคนั้น และมีทูบาค่อยเล่นเป็นจังหวะให้ในแต่ละห้อง ในส่วนของท่อนนี้เพลงจะมีลักษณะเหมือนการแล่นของตัวเครื่องบินรบ เพราะสังเกตเห็นได้จากเมโลดี้หลักของยูโฟเนียมที่ได้ลากเสียงยาวมา จนกระทั่งเจอสิ่งต่างๆ อาจจะเป็นเมือง เครื่องบิน รถถัง ผู้คน หรืออาจจะยิงกัน เพราะหลังจากขับมาดีๆก็ได้มีการขยับขับเคลื่อนของตัวโน้ต และขยับคอร์ด 1 คอร์ดไปทุกๆ 1 ห้องเพื่อเพิ่มอารมณ์ของเพลง เหมือนเวลาเราไล่สเกลจากเสียง 1 ไปเรื่อยๆ มันจะเป็นการบิวต์ค่อยๆให้โน้ตๆนั้นหรือห้องนั้นๆดูมีอะไร และ น่าสนใจมากขึ้น ผู้เขียนเลยยังคงคอนเซปต์ของ โทนิค เอาไว้แต่แค่ไล่ขึ้นไปทีละ 1 เสียงเต็ม

 

               -วิธีการเล่นตรงนี้ควรจะฝึกการออกเสียงโดยใช้ลิ้นให้คล่องและสัมพันธ์กับการเปลี่ยนโน้ต

               -การใช้เทคนิค Double Tonguing

            -การทำไดนามิคของเพลง

               -คำนึงถึงเครื่องหมายสัญลักษณ์ของโน้ตเพลง

               -ควรซ้อมจังหวะช้า ๆ

33.png
มีการ repeat motive บนไม้และบนเหล็ก โดยจะเหยียบ Padel เอาไว้ทำให้เสียงมันเปลี่ยน มีการ sustained ของเสียงก่อนหน้าเอาไว้ ทำให้เพลงดูมีมิติมากยิ่งขึ้น Melody Rhythmic เดียวกันแต่เปลี่ยน material จากไม้มาเป็นเหล็กแค่นี้ก็ทำให้ลักษณะของเสียงนั้นเปลี่ยนไปแล้ว
44.png
เกิดการย้ำตัว Motive บนตัว Euphonium , Vibraphone จะตีตัวดำและ complex คอร์ดด้วยการเหยียบ Paddle ทุกๆจังหวะแรกของห้อง พอถึงช่วง Euphonium บรรเลงทำนองหลัก จะสลับจากเหล็กไปเป็นไม้มาที่เครื่อง Marimba โดยจะเล่นโน้ตเหมือน Euphonium ก่อนหน้านี้ในขณะที่ Euphonium ทำการบรรเลงทำนองทำให้เกิดลักษณะเสียงระหว่างเสียงไม้ จากเครื่องกระทบ และเสียงเป่าจากเหล็กที่เกิดจาก เครื่องลมทองเหลือง Contrast กันเสียงมันเกิดการแยกฝั่งกัน จะได้ยินเสีงไม้และเสียงเครื่องเป่าที่แยกออกจากกันบรรเลงพร้อมกัน
Anchor 1
55.png
66.png
และในท่อนนี้ที่มีการเปลี่ยน Time Signature ช่วงนี้จะเป็นไฮไลท์ของเพลงเลย เพราะผู้แต่งจะได้ดึงความไพเราะ และโชว์ท่วงทำนองของเสียงยูโฟเนียมและเครื่องกระทบออกมาอีกสไตล์นึง จะเห็นได้ว่าตัวยูโฟเนียมจะบรรเลงทำนองโดยที่ตัวมาริมบาจะตีเป็น Motive คอร์ดคอยเปลี่ยนคอร์ดตามทำนองที่เกิดจากยูโฟเนียม และจำทำหน้าที่เป็นตัวกำกับจังหวะ และเห็นได้ว่าจะเลือกใช้ Material จากมาริมบา ที่เกิดจากไม้ที่ไม่ทำให้เสียงคอร์ดที่เคลื่อนที่นั้นไม่รบกวนแต่ฟังดูเต็มและเคลื่อนที่เด้งไปข้างหน้าและจะย้ำคอร์ดเป็นการ Recap ตัวทำนองไว้ด้วย แต่จะเป็นการเป่าและตีเป็นจังหวะที่มีความ เด้ง และ ยืดหยุ่น ให้เหมือนกับการเดินไปข้างหน้าหน่อยนึงเพื่อไม่ให้จังหวะเพลงมันย่ำอยู่กับที่ โดยเสียงมาริมบ้านั้นจะตีเป็นคอร์ด 1 แต่จะใส่คู่ 2 ลงไปเพื่อให้มันกัดกัน โดยจะใช้ไม้ขนาดกลางที่ไม่แข็งและอ่อนเกินไป เพื่อให้เสียงออกมาไม่ฟุ้งและพุ่งเกินไปจนไม่มีหางเสียง อย่างตรงนี้ผู้แต่งได้จงใจให้มีหางเสียงของมาริบาเอาไว้ เพราะว่าต้องตีเป็นคอร์ดและคอยกำกับจังหวะไปเรื่อย ถ้าสมมติเล่นแค่ตัวกลมและให้ยูโฟเนียมเป่าก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้านำมาเล่นกับอัตราส่วนจังหวะนี้และให้คอร์ดที่กัดกันเพลงจะยังคงคอนเซตป์มีความพิศวง และ ให้อารมณ์ที่มืดมน ทมิฬ ไม่งั้นเพลงจะไม่ Bright ทำให้เพลงดูมีมิติมากขึ้นและน่าตื่นเต้นมากขึ้น โดยตัวทำนองหรือตัวโน้ตในเพลงนี้จะมีการที่ ใช้ระดับเสียงที่ค่อนข้างกว้าง มีเสียงที่ทั้งสูงและต่ำ โดยตรงนี้เครื่องกระทบจะตีสลับมือซ้ายขวา สลับกัน และตีอย่างต่อเนื่องกันเพื่อให้ครบอัตราส่วนจังหวะ
Picture1.png

ท่อนนี้เสียงจากเครื่องยูโฟเนียมจะทำงานพร้อมกับไวบราโฟนที่ Sustained ลากค้างทำให้ตัว Harmonic เกิดการ Complex กันทำให้เกิดลักษณะเสียงที่ใหม่ เกิดขึ้นในจังหวะที่ไวบราโฟนทำหน้าที่เหยียบ Paddle on/off ในเสียงที่ยูโฟเนียมลากค้างไว้พอดี พอหลังจากที่ยูโฟเนียมลากค้างไวบราโฟนก็จะทำหน้าที่ขยายคอร์ดออกมาให้กว้างขึ้น ทำให้มันสอดคล้องกันทำให้เกิด Texture ใหม่ ให้บรรยากาศของเพลงให้ดูลอย ๆ ฟุ้ง ๆ เวิ้งว้าง และในบางท่อนได้มีการสลับให้ทางฝั่ง เพอร์คัชชัน (percussion) ได้ทำการโซโล่ เป็นเมโลดี้หลักบ้างสลับกันไป ให้เครื่องยูโฟเนียมเป็นไลน์ประสานและคอร์ดและตัวกำกับจังหวะแทนบ้างเพื่อให้เพลงดูมีความแตกต่างและสร้างสรรค์ มีมิติที่มากขึ้น

-ควรฝึกซ้อมเรื่องการ Lips slur และเป่าให้ลมนั้นไหลลื่นตลอดทั้งเสียง

5 Danses – Étienne Perruchon

เป็นผลงานของศิลปันนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส โด่งดังมากในเเวดวง Flim Scores ทั้ง โอเปรา ละครเวที ออเครสตร้าอีกด้วย ส่วนบทเพลงที่ผมหยิบนำมาเเสดงคือ  5 Danses เป็นบทเพลงที่ใช้เครื่องเล่นอย่าง ทิมปานีเเละยูโฟเนียมมาบรรเลงร่วมกัน 

Picture2.png
ตัวเพลงจะโชว์ถึงการเล่นยูโฟเนียมให้เหมือนเครื่องกระทบอย่างเพอร์คัชชันยังไง เล่น Texture ให้มีความ Percussive โดยเราจะเห็นได้ว่าเพลงนี้จะเป็นการใช้ Material ระว่างเครื่องกระทบที่เป็นหนังอย่าง Timpani และเครื่องเป่าอย่าง Euphonium โดยตรงนี้จะเห็นได้ว่าตัวทิมปานีจะมีการตีและ accent เป็น Groove และจะมียูโฟเนียม ที่ทำหน้าที่นั้นเหมือนกับทิมปานีอยู่ ให้ลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกับการตี ให้ดูมีความเป็น Percussive และเล่นเป็น Rhythmic ให้มีความสนุก
3.png
ท่อนนี้จะเห็นได้ว่าตัวทิมปานีจะทำหน้าที่เป็นตัวดำเนินจังหวะ จะเห็นได้ว่าจะตีเป็นคอร์ดและตัวยูโฟเนียมจะทำหน้าที่บรรเลงทำนองหลัก จะเห็นได้ว่าการเล่นกับเครื่องดนตรีที่ Material เป็นเครื่องหนังแล้วไม่จำเป็นจะต้องทำเสียงให้ดูเหมือนเครื่องหนังเสมอไป อย่างท่อนนี้จะเห็นได้ว่าตัวเครื่องเป่าจะหน้าที่บรรเลงทำนองหลักแล้วตัวทิมปานีจะทำหน้าที่ตีกำกับจังหวะ เพื่อที่จะให้เห็นถึงความแตกต่างทำให้เกิด Texture ใหม่เพื่อให้เห็นถึงความ Contrast ของสองเครื่องที่บรรเลงพร้อมกัน

Contact

2010 Arun Amarin Rd 36, Khwaeng Bang Yi Khan, Bang Plat, Bangkok 10700, Thailand 

yaseem4055@gmail.com

  • Black Facebook Icon
  • Black Instagram Icon

© 2023  Proudly created with Wix.com

Thanks for submitting!

bottom of page