top of page

 matter 
By Thanakrit Phathomnimrit

ความเป็นมาของชิ้นงาน
 
  • ความแปลกใหม่ของการประพันธ์ที่ได้จับเครื่องเป่าทองเหลืองเเละเครื่องกระทบมาเล่นด้วยกัน เป็นการประพันธ์ที่ได้หยิบเลือกเครื่องดนตรีเเละการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์มาใช้ การหยิบ Material ใหม่ๆ เเละเป็นความท้าทายใหม่ ๆ อยากให้ทุกคนได้รับฟัง
  • เริ่มจากการนั่งหาฟังเพลงเพื่อศึกษาต่อแล้วไปเจอ รีไซทอล ของคนๆนึง ที่ประพันธ์เอง เเล้วออกมาได้อย่างอลังการ น่าสนใจ เเละได้เห็นถึง Texture ของเสียงระหว่างเครื่องเป่าเเละเครื่องกระทบเล่นด้วยกันจนออกมาเป็น Texture เสียงใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลาย ที่ทำไม่ได้บนยูโฟเนียมเเละต้องเล่นกับเครื่องกระทบเท่านั้
 
 

Concept 

โดยชิ้นงานนี้จะอธิบายเเละพูดให้เห็นถึงความหลากหลายของ Texture ลักษณะของเสียงที่หลากหลายที่เกิดขึ้นจาก Material ที่เเตกต่างกันระหว่างเครื่องกระทบ (Percussion) เเละ เครื่องเป่าทองเหลืองอย่าง ยูโฟเนียม (Euphonium) มาสร้าง Texture ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการบรรเลงพร้อมกัน เหมือนตอนเด็ก ๆ ที่เราพูดหรือร้องเพลงหน้าพัดลมเเล้วเสียงที่มันออกมามันเป็นเหมือนคลื่น ๆ ไว ๆ นั้นเเหล่ะครับคือเสียงที่มันเกิดขึ้น Texture ที่มันเกิดขึ้นจากวัสดุที่เราเลือกใช้
 
ทุกคนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมเพลง ๆ นึงทางผู้เเต่งถึงเขียนออกมาเเบบนี้ เเล้วเพราะทำไมถึงต้องเขียนออกมาเเบบนี้ บางครั้งก็สงสัยว่าเขียนออกมาได้ยังไง เลยได้เจาะลึกขยายออกไปว่าทำไมเขียนเเบบนี้เเละเสียงจะออกมาเป็นเเบบนี้ ทำไมเขียนเเบบนี้ถึงได้ลักษณะเสียงเเละ Texture ของเสียงออกมาเป็นเเบบนี้ เลยเป็นที่มาของโปรเจคนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะออกมาอธิบายเเละขยายถึงลักษณะของ Texture ของเสียงว่าถ้าเล่นเเบบนี้ ทำเเบบนี้เสียงมันจะออกมาเป็นเเบบไหน เสียงที่ออกมาเป็นเเบบนี้มันเกิดจากการทำงานของอะไร เครื่องดนตรี หรือ วัสดุของเครื่องที่เเตกต่างกัน เลยอยากจะอธิบายให้เห็นถึงเสียงที่มันเกิดขึ้นระหว่าง เครื่องเป่าทองเหลืองกับเครื่องกระทบ ว่า 2 เครื่องดนตรีนี้เมื่อมาเล่นเพลงด้วยกันเสียงเเละลักษณะของเสียง (Texture) จะออกมาเป็นเเบบไหน ที่เมื่อเล่นกับวัสดุหรือ Materials ที่เเตกต่างกัน  ที่มันไม่สามารถสร้างได้บนเครื่องดนตรียูโฟเนียมเเละเครื่องอื่น ๆ มันต้องบรรเลงด้วยกันถึงจะได้ Texture นี้ออกมา
โดย Concept ของงานฃิ้นนี้คือจะนำ Euphonium + Materials ที่เเตกต่างกันมาบรรเลงเล่นร่วมกันโดยนำเสนออกมาเป็นบทเพลง
 
Repertoire เเรก Spitfire จะเป็น Material ระหว่างเครื่องเป่าอย่าง Euphonium + Vibraphone/Marimba ที่เป็นเหล็กเเละไม้ 
เเละบทเพลง 5 Danses จะเป็น Materials ระหว่าง Euphonium + Timpani เครื่องเป่าทองเหลืองที่เป็นเหล็กเเละหนังจากเครื่องเล่นทิมปานีนั่นเอง
Quartet
โดยวง Quartet จะหยิบนำเครื่องดนตรีที่มี Material ที่เเตกต่างกันอย่าง ไม้ เหล็ก หนัง มารวมเล่นบรรเลงประกอบกับวง Quartet ด้วยเพื่อให้เเสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของลักษณะของเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ Material ที่เเตกต่างกันเเต่นำมาบรรเลงพร้อมกัน โดยไอเดียของวง Quartet เราจำหยิบนำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ในการสร้างเเอคคอมกับเพลงที่เล่น เพื่อที่จะได้สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ในการบรรเลงให้เพลง Quartet
 
โดยบทเพลงเเรก Dances จะหยิบนำไม้ เเท่นเหล็กเเละหนังมาเล่นบรรเลงประกอบกับวง Quartet มาสร้าง Groove เป็น Pattern บรรเลงประกอบกับวง
บทเพลงที่สอง Excursion เป็นเพลงที่เกี่ยวกับการเดินทางนักประพันธ์ได้ให้คำอธิบายว่าเพลงนี้จะเกี่ยวกับการผจญภัย เดินทางต่าง ๆ โดยท่อนเเรกจะเป็นการเดินอย่างสมบุกสมบัน เส้นทางที่เต็มไปด้วยดิน หิน เดินทางอย่างเข็มเเข็ง เเละท่อนสอง จะเป็นการนั่งพักเเละนึกระลึกคิดถึงเรื่องร่าวต่าง ๆ ที่ผ่านมาที่ได้เดินทางผ่านมา เเละท่อนสามจะเป็นการเดินทางที่ตื่นตระหนก เหมือนหลบหนีสิ่งบางอย่าง ผมเลยได้หยิบนำเอา Sound Recording ของเสียงเดิน ที่เดินเเละวิ่งตามอริยาบทของมนุษย์ใส่ไปในเพลง นำมาเปิดเเละบรรเลงร่วมไปกับเพลง
บทเพลงที่สาม Donegal Bay เป็นเพลงที่นำทำนองจากฃาวไอริชมาเขียนเเละเรียบเรียงให้เห็นถึงท่วงทำนองที่สวยงามของเพลง เราเลยได้นำโมบายที่เป็นทั้งไม้ เปลือกหอย เเละเหล็กเข้ามาเล่นบรรเลงประกอบ เป็นการนำ Non-music Objects เข้ามาใส่ในเพลงซึ่ง Materials จะมีทั้ง เหล็ก เปลือกหอย เเละไม้ จะถุกนำมาใส่ในบทเพลงนี้เพื่อที่จะเเสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของวัสดุต่าง ๆ ที่มันสร้างเสียงเเละลักษณะเสียงใหม่ ๆ ที่นำมาเล่นกับเครื่องเล่น Euphonium นั่นเอง







โดย
Program





 
Spitfire-01.png
Spitfire - Euphonium and Vibraphone/Marimba
เป็นเพลงที่ใช้เครื่องดนตรียูโฟเนียม และเครื่องกระทบที่คอยเข้ามาเป็นแนวบรรเลงประกอบให้กับเครื่องดนตรียูโฟเนียมในบทเพลงนี้ ประพันธ์โดย Dr.Brian Meixner โดยชื่อเพลง Spitfire นักประพันธ์คนนี้ได้แต่งเพลงตามชื่อ เครื่องบินสงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะต้องการให้เพลงนี้ดุเดือดและดุดัน เกรี้ยวกราดและรุนแรงและไม่หยุดเคลื่อนไหวเหมือนเครื่องบินในสงคราม โดยเครื่องบินลำนี้มีชื่อว่า “Supermarine Spitfire” เครื่องบินลำนี้นั้นเป็นของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีที่นั่งเดียวและมีปืนกลหนักอัตโนมัติติดตั้ง ระเบิดขนาดหนักรุนแรงติดตั้งไว้ภายในเครื่องบินทำให้น้ำหนักเครื่องบินนั้นมีน้ำหนักมาก แต่กลับกัน การเคลื่อนที่ของมันควรจะช้าแต่กับเร็วไวอย่างไม่คาดคิด เพราะ มีเครื่องยนต์ที่ดีและแรงที่สุด การที่เครื่องบินลำนี้นั้นได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบินในตำนานที่มีความอันตรายและรุนแรง นั่นก็เพราะความเร็วของมัน มันเป็นเครื่องบินที่แล่นเร็วที่สุดในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งที่มันบรรจุอาวุธหนักไว้เต็มลำ แต่กลับแล่นได้เร็วเหมือนดังจรวด ผู้ประพันธ์จึงได้แต่งชื่อเพลงตามเครื่องบินลำนี้ เพราะเพลงที่แต่งนั้นจะมีอารมณ์ดุเดือด ฉุนเฉียวพันแล่นและมีจังหวะที่รวดเร็ว เหมือนเครื่องบินลำดังกล่าวโดยการประพันธ์นี้ผู้แต่งต้องการจะใช้หา Material ที่จะทำให้เพลงของเขานั้นดุเดือดเหมือนชื่อเครื่องบิน เค้าจึงเลือกใช้เครื่องกระทบ หรือ เพอร์คัชชัน(percussion) เข้ามาช่วยเพื่อให้เหมือนกับการแล่นของเครื่องบินหรือเหมือนกับการทิ้งระเบิด เขาจึงเลือกใช้เครื่องดนตรี เพอร์คัชชัน (percussion) เข้ามาทำให้เพลงนั้นน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อและทำให้มีความน่าดึงดูดมากขึ้น ถือว่าเป็นการนำ Material ใหม่ๆที่ยังไม่มีใครหยิบมาใช้เขาจึงนำมาใช้กับเพลงของเขาเอง ซึ่งในตัวบทเพลง เขาพยายามที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหว การแล่นผ่านของเครื่องบินและการทิ้งระเบิดหรือการยิง โดยจะให้เครื่อง Vibraphone , Marimba นั้นตีไล่โน้ตมาด้วยความเร็วและดุดันตั้งแต่โน้ตบนสุด ไล่ลงมายังโน้ตต่ำสุด ให้เหมือนการเคลื่อนไหวและการแล่นผ่านของเครื่องบินลำนี้ โดยเพลงๆนี้ได้มีการแสดงสดที่ University of North Florida in Jacksonville , Southeast and Northeast Tuba and Euphonium นอกจากนี้ทางผู้ประพันธ์ยังได้ประพันธ์เพลงนี้ออกมาอีกหลากหลายเวอร์ชัน โดยเพิ่มหรือเสริม Material ต่างๆเข้าไปอีก โดยตอนแรกจะมีแค่ ยูโฟเนียมและเพอร์คัชชัน (percussion) อีก 2 เครื่องที่เพิ่มเข้ามานั้นก็คือ Vibraphone/Marimba และทางผู้ประพันธ์ก็ได้ประพันธ์อีกเวอร์ชันโดยเพิ่มเครื่องดนตรีอย่าง Tuba เข้ามา ทำให้เพลงนั้นมีจังหวะที่หนักแน่นและดุเดือดมากขึ้นอีก และยังได้ประพันธ์อีกเวอร์ชั่นออกมาเพิ่ม คือการนำ Euphonium + 9 Percussionists โดยตั้งชื่อว่า Spitfire ll โดยเพิ่มเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน (percussion) เข้ามาอีก 9 เครื่อง แต่ละคนก็จะมีหน้าที่เล่นเครื่องดนตรีเพอร์คัชชัน (percussion) ที่มากกว่า 1 ชิ้นและแตกต่างกันไป เครื่องดนตรีที่เพิ่มเข้ามานั้นมี Timpani, sizzle cymbal, triangle, snare drum, bass drum, tam-tam, suspended cymbal, shakers, claves, log drum pitch, ride cymbal, ทำให้เพลงนั้นดูมีความยิ่งใหญ่และอลังการเข้าไปอีก ทำให้เพลงนั้นมีจังหวะและท่วงทำนอง ที่สนุกครึกครื้น และ เกรี้ยวกราด ดุเดือด อีกทั้งยังอลังการขึ้นไปอีก เพราะยกมาทั้งวง 9 เครื่องดนตรีเพอร์คัชชัน (percussion) ถือว่าเป็นการผสมผสานได้อย่างยอดเยี่ยม น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมากๆสำหรับเพลงนี้ที่ผู้ประพันธ์ได้เขียนออกมา ในฐานะผู้เล่น ยูโฟเนียม ถือว่าน่าตื่นเต้นและน่าเล่นมากๆ เหมือนได้เปิดประสบการณ์ว่ายังมีแนวเพลงนี้เกิดขึ้นอีกด้วย ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ เปียโน มาคอยเป็น Accompaniment อีกต่อไป
5 Danses Dogoriennes - Etienne Perruchon
819gITF3U3L._AC_UF1000,1000_QL80_.jpg
เป็นนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสที่โด่งดังในการแต่งเพลงประกอบภาพยนต์ ละครเวที โอเปรา อีกด้วย โดยบทเพลงนี้จะเป็นการเล่นระหว่าง Cello , Timpani แต่จะถูกนำมาเล่นบนเครื่องเล่นยูโฟเนียมแทน โดยตัวบทเพลงจะมีอยู่ทั้งหมด 5 ท่อน โดยเพลงนี้ถูกแต่งมาจากผลงานที่ชื่อว่า Dogorian Music จากละคร Dogora ที่เขาได้แต่งขึ้นมา ไว้ใช้ประกอบกับละครเวที โดยบทเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นโดยได้แนวคิดจาก Dodarian เป็นเพลงที่มีระดับความยากถึง Grade 8
Excursion for Tuba-Euphonium Quartet
pza90060cover_2.png
นักประพันธ์ Alejandro Guardia Jr. กล่าวว่า “การทัศนศึกษาเป็นการผจญภัยผ่านภูมิประเทศทางดนตรีที่สมบุกสมบันสำหรับ Tuba Quartet โดยเขียนเป็น 3 ท่อน อย่างแรกคือ Allegro ที่เต็มไปด้วยหินและสมบุกสมบันซึ่งสร้างเส้นทางที่มีพลังไม่เท่ากันสำหรับผู้ชมและนักแสดงที่จะเดินผ่าน ท่วงท่าที่สองเป็นท่วงทำนองที่ไพเราะและชวนคิด ชวนให้นึกถึงการนั่งมองดวงดาวยามค่ำคืนและหวนคิดถึงชีวิตที่พลัดพรากจากกันชั่วคราว การเคลื่อนไหวครั้งที่สามกระตุ้นความรู้สึกของการหลบหนีด้วยความตื่นตระหนก โดยรวมแล้ว งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อทางดนตรีของวงดนตรีด้วยท่อนร้องมากมายที่ต้องใช้การควบคุมระดับสูงในด้านไดนามิก พิสัย และเทคนิค และเป็นการผจญภัยของนักแสดงมากพอๆ กับสำหรับผู้ชม”
Donegal Bay - Euphonium Quartet
111.jpg
Donegal Bay เป็นงานชิ้นแรกสำหรับแตรวงที่ Paul Lovatt-Cooper แต่งขึ้นเมื่อเขาอายุเพียง 18 ปี Donegal Bay ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงโซโลบาริโทนและบราสแบนด์ ได้กลายเป็นเพลงหลักในห้องวงดนตรีหลายแห่งทั่วโลก มันเป็นการแสดงความเคารพต่อสไตล์โคลงสั้น ๆ ของชาวไอริชที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เสียงประสานอันอบอุ่นของ Lovatt-Cooper และบาริโทนโซโลโคลงสั้น ๆ ทำให้ Donegal Bay มีความสุขอย่างแท้จริงในการฟังและเล่น 
Dances For Tuba-Euphonium Quartet
page_1.jpg
เป็นบทเพลงสำหรับวง Quartet ที่มีการใช้ Range ที่กว้างเเละยากที่ควบคุม เเละจังหวะที่สนุก โดยมี 3 ท่อน 
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อรับชมตัววิจัยของชิ้นงาน

Reserch of Texture with Difference Material 

ลิงค์วิดีโอในเร็ว ๆ นี้ (Video of my Recital Comming Soon!)




 
bottom of page